ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560 ได้กำหนดไว้ว่า ภาชนะสำหรับรองรับมูลฝอยแต่ละประเภทนั้นต้องมี สี เฉพาะ หรืออาจกำหนดข้อความหรือสัญลักษณ์อื่นซึ่งแสดงถึงมูลฝอยประเภทนั้นไว้อย่างชัดแจ้งที่ภาชนะรองรับมูลฝอยแทนก็ได้
โดยกำหนดไว้ดังนี้
- สีน้ำเงิน สำหรับขยะทั่วไป
- สีเขียว สำหรับขยะอินทรีย์ (ขยะที่ย่อยสลายได้)
- สีเหลือง สำหรับมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ (รีไซเคิล)
- สีส้ม สำหรับมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
- แต่โดยทั่วไปแล้วนิยมใช้ถังขยะสีแดงกัน
ขยะทั่วไป
General Waste
หรือ “มูลฝอยทั่วไป” คือ ขยะ ประเภทอื่นนอกเหนือจากขยะที่ย่อยสลายได้ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย ขยะติดเชื้อ มีลักษณะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
ขยะรีไซเคิล
Recyclable Waste
คือขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตใหม่ได้
ตัวอย่างขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
กระดาษ แก้ว โลหะ พลาสติก เศษพลาสติก ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก กล่องกระดาษ อลูมิเนียม
ขยะอันตราย
สีแดง
ขยะเปียก
สีเขียว
ขยะติดเชื้อ
ข้อมูลอ้างอิงตาม”ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560” และ “ข้อบังคับกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของอาคาร สถานที่และสถานบริการการ สาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๔๕ “
เรียบเรียงโดย chinter.com
มูลฝอย คือ
“มูลฝอย” ตามความหมายของ “ข้อบังคับกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การ จัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของอาคาร สถานที่และสถานบริการการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๔๕” คือ เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุง พลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น